บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive compulsive disorder: OCD)

รูปภาพ
ในปัจจุบันจะเห็นว่าเราพูดคำว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ  OCD  กันค่อนข้างบ่อย และโดยส่วนใหญ่จะให้ความรู้สึกกับคำนี้ค่อนข้างเป็นไปในทางบวก เช่น  “ แกนี่เป็นคนเป๊ะกับงานมาก ปล่อยไปไม่ได้เลย สงสัยจะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ ”  ซึ่งถือเป็นการชื่นชมเป็นนัย ๆ ว่าทำงานดี หรือบางครั้งใช้เป็นคำพูดล้อเล่นหรือล้อเลียน เช่น  “ ยังไงกัน แกเดินไปเช็กประตูอีกละเหรอ สงสัยจะเป็นเป็น  OCD”  แต่หากใครก็ตามป่วยเป็นโรคนี้จริง ๆ แล้วล่ะก็ จะไม่มีความสุขหรอก ส่วนใหญ่คนเหล่านี้จะทุกข์กับอาการของตนมากกว่า โรคย้ำคิดย้ำทำนั้น จริง ๆ แล้วแบ่งเป็น  2  เรื่องหลักตามชื่อโรคเลยครับ คือย้ำคิดกับย้ำทำ โดยจะเกิดอาการย้ำคิดก่อน เช่น คิดวน ๆ ซ้ำ ๆ ไปว่า  “ สกปรก ”  พื้นตรงนี้มันสกปรก หรือมือนี่มันสกปรก โดยคิดวน ๆ ซ้ำ ๆ แบบนี้ ทำให้เกิดความวิตกกังวล ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ จนต้องจัดการกับความรู้สึกวิตกกังวลหรือความทุกข์ใจเหล่านี้ด้วยการกระทำอะไรบางอย่าง และการที่จะช่วยลดความคิดว่ามือสกปรกได้คือการล้างมือ ดังนั้นเมื่อไปล้างมือความวิตกก็จะลดลง แต่ลดลงไปประเดี๋ยวเดียวความคิด...

การจัดการความเครียดในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (Stress management during COVID-19 outbreak)

รูปภาพ
ท่ามกลางการระบาดของเชื้อ  COVID-19  นั้น ประชาชนทุกคนได้รับผลกระทบในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เช่น ภาวะสุขภาพ เศรษฐกิจ เสรีภาพ ความมั่นคงในชีวิต ส่งผลให้เกิดความเครียดตั้งแต่ในระดับน้อยถึงระดับรุนแรง ดังนั้นผมจึงอยากเสนอแนวทางในการจัดการกับความเครียดเบื้องต้นที่สามารถทำได้เอง ซึ่งเราสามารถเริ่มต้นที่ตนเอง จากนั้นอาจแนะนำครอบครัว คนใกล้ตัว เพื่อน เพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดีเท่าที่จะเป็นไปได้ในสภาวะของแต่ละบุคคล ความเครียดเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายตามธรรมชาติเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ในสถานการณ์วิกฤต ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ แต่ทั้งนี้เพื่อให้เรารู้สึกตื่นตัวในการที่จะขวนขวายหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเตรียมตัว วางแผน และตัดสินใจที่จะรับมือกับปัญหานั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นให้รับรู้ว่าการมีความรู้สึกเครียด กังวล หรือกลัวนั้น เป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว กลับกันหากเราไม่มีความเครียดจะทำให้ไม่กระตือรือร้นในการหาทางรับมือกับปัญหา อาการที่แสดงถึงภาวะเครียด นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ฝันร้ายเป็นประจำ อารมณ์แปรปรวน หงุดหง...

การพยาบาลผู้ที่มีภาวะถอนพิษสุรา (Nursing Care for Patient with Alcohol Withdrawal)

รูปภาพ
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าภาวะถอนสุราหรือภาวะถอนพิษสุรากันมาบ้างแล้วนะครับ คนทั่วไปหรือบางคนอาจคิดว่าการถอนพิษสุรานั้นคือการที่ดื่มเหล้าซ้ำเข้าไปในตอนเช้าหลังจากที่เมากลับบ้านมาเมื่อคืนนี้ แล้วมีอาการปวดหัว ไม่สบายตัว ไม่สดชื่น หากได้ดื่มเหล้าสักหน่อยคงจะดีขึ้น แต่จริง ๆ แล้วรู้หรือไม่ว่าภาวะถอนสุรานั้นเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นหลังจากหยุดดื่มเหล้าตากหาก และที่สำคัญอาการเหล่านี้บางครั้งอันตรายอาจถึงชีวิตได้เลยนะครับ ภาวะถอนพิษสุรา  (Alcohol withdrawal)  เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น หงุดหงิด กระสับกระส่าย มือสั่น แต่หากในรายที่มีประวัติดื่มมากและต่อเนื่องอาจเกิดอาการรุนแรง เช่น สับสน ประสาทหลอน หรือชักได้ โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อหยุดดื่มเหล้าหลังจากที่ดื่มเหล้าเป็นประจำติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน อาการของภาวะถอนพิษสุรานั้นแบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม ดังนี้ 1. Uncomplicated alcohol withdrawal  มีอาการตัวสั่น มือสั่น หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน อาการมักเกิดหลังจากหยุดดื่มตั้งแต่  6-24  ชั่วโมง แต่พบบ่อยในตอนเช้า...

ห้ามพยาบาลวิชาชีพให้ยา Diclofenac ชนิดฉีด

รูปภาพ
หลาย ๆ คนคงสงสัยกันใช่ไหมครับว่าทำไมถึงห้ามพยาบาลฉีดยา  Diclofenac  วันนี้ผมจะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อไขข้อสงสัยกันครับ ยา  Diclofenac  เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการปวด จัดอยู่ในกลุ่มยาต้านการเกิดปฏิกิริยาอักเสบของร่างกายแบบไม่ใช่เสตียรอยด์  (NSAIDs)  ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งเอนไซม์  COX-1  และ  COX-2  มักนำมาใช้แก้ปวด ลดไข้ ปวดข้อเรื้อรัง (เช่น ปวดจากข้อเสื่อม เก๊าต์ รูมาตอยด์) ปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดหลังผ่าตัด และปวดประจำเดือน เนื่องจากยาออกฤทธิ์เร็วและผู้ป่วยหายปวดอีกทั้งยังมีราคาถูกด้วย เมื่อต้นปี  2562  ได้มีประเด็นว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่ปี  2556  ถึง  2562  นั้น มีรายงานว่ามีผู้ได้รับอันตรายจากการฉีดยา  Diclofenac  เข้าทางกล้ามเนื้อ เฉลี่ยปีละ  5  ราย โดยส่วนใหญ่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณหน้าแข้งและเท้า จึงขอให้ อย. และ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและแจ้งให้หน่วยงานทางสาธารณสุขของรัฐทราบ ซึ่งจากการทบท...

การเรียนต่อระดับปริญญาโทด้านการพยาบาลในต่างประเทศ

รูปภาพ
เชื่อว่าหลาย ๆ คนกำลังมองหาโอกาสในการเรียนต่อปริญญาโทในต่างประเทศ วันนี้ผมขอแบ่งปันข้อมูลที่ผมมีอยู่เกี่ยวกับการเรียนต่อปริญญาโทด้านการพยาบาลครับ ปกติแล้วคนไทยนิยมไปเรียนต่อด้านการพยาบาลใน  3  กลุ่มประเทศ คือ อเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย แต่ในที่นี้ผมจะขอพูดถึงเฉพาะของอเมริกาและอังกฤษนะครับ (พอดีไม่ได้ศึกษาของฝั่งออสเตรเลียมาก่อนครับ) การเรียนต่อพยาบาลในอเมริกา การเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นค่อนข้างเหมือนกับในประเทศเรามากครับ (บ้านเราไปนำหลักสูตรมาจากอเมริกานั่นเอง) โดยจะเห็นว่าในการเรียนปริญญาโทของพยาบาลนั้นจะมีทั้งภาคทฤษฎี  (theory)  และภาคปฏิบัติ ( practice)  ที่ต้องไปทำกับผู้ป่วยจริง ๆ ในโรงพยาบาล และการเรียนการสอนจะใช้ระยะเวลาอย่างน้อย  2  ปี (เหมือนบ้านเราเลย ถ้าทำวิทยานิพนธ์ไม่ผ่านก็ต้องรอจนกว่าจะผ่านถึงจะจบได้ โดยส่วนใหญ่ก็ใช้เวลาประมาณ  2-3  ปีครับ) จะเห็นว่าเมื่อมี  Practice  จึงทำให้ผู้ที่จะไปเรียนจำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลของอเมริกา  (RN License)  ซึ่งการได...

วิธีการและขั้นตอนการสมัครสอบ NCLEX เพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล (RN License) ในอเมริกา

รูปภาพ
สวัสดีครับ ใครหลาย ๆ คนอาจมีความฝันว่าจะไปทำงานเป็นพยาบาลในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา หรือบางคนอยากไปเรียนต่อปริญญาโทสายการพยาบาลที่อเมริกาซึ่งต้องมีใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลของอเมริกา (ต่อไปขอเรียกว่า  RN License / License)  เพื่อจะทำให้ฝันเป็นจริง วันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการและขั้นตอนการสมัครสอบด้วยตนเองแบบไม่ต้องใช้  Agency  นะครับ -  การสมัครสอบ  License  ของอเมริกานั้นเราต้องทราบในแน่ชัดว่าต้องการไปรัฐไหน เนื่องจากระบบของ  USA  นั้น  License  จะเฉพาะเจาะจงในแต่ละรัฐ เช่น หากมี  RN License  ของ  New York  จะไม่สามารถทำงานที่  California  ได้ครับ เมื่อทราบแล้วให้ดำเนินการสมัครผ่าน  Board of Nursing  ของรัฐนั้น ๆ ครับ แต่ขั้นตอนนี้จะมีความวุ่นวายตรงที่ว่าบางรัฐต้องการให้คุณลงข้อมูล  Social Security Number (SSN) ( เหมือนเลขประชาชนของคนอเมริกัน) ซึ่งหากเราไม่เคยไปทำงานที่นั่นมาก่อนจะไม่มีเลขนี้ และจะทำให้สมัครไม่ได้  (หากใครไป  work and travel   จะได้...